วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ๒) ประเมินทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียน
ที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ๓) ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการ
ทางประวัติศาสตร์

การดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ ๑) สุ่มกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๔๕ คน ๒) สร้างเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
มีประสิทธิภาพ ๘๓.๕๗/๘๑.๓๙ ๓) สร้างเครื่องมือเพื่อตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ
ทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ ๐.๘๓ แบบประเมินทักษะกระบวนการกลุ่มเพื่อประเมินทักษะกระบวนกลุ่ม และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์

ผลการวิจัยพบว่า ๑) คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีทักษะกระบวนการกลุ่ม ในประเด็น การกำหนดประเด็นปัญหา การค้นหาและรวบรวมหลักฐาน การวิเคราะห์หลักฐาน การสรุปข้อเท็จจริง และการนำเสนอผลงาน ๓) ร้อยละ ๘๐
ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในประเด็น การใฝ่รู้ใฝ่เรียน
ความมีวินัยและความรับผิดชอบ

ไม่มีความคิดเห็น: