วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

ผลการวิจัย

๑. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการ
ทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้

ผู้วิจัยได้นำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปทดลองสอนเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยการนำแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ไปทดลองครั้งที่ ๓ กับนักเรียนกลุ่มตัวอย่าง ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๔๕ คน โดยนักเรียนที่นำมาทดลองเป็นนักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ในระดับเก่ง ปานกลาง และอ่อน ผลปรากฏว่า คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ หลังการเรียนสูงกว่าก่อนการเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕

๒. ผลการประเมินทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้

ผู้วิจัยได้นำแบบประเมินทักษะกระบวนการกลุ่มไปประเมินนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๔๕ คน โดยครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์จำนวน ๑ คน และนักเรียนที่เรียนวิชาประวัติศาสตร์ จำนวน ๔๕ คน เป็นผู้ประเมินตนเอง ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ การกำหนดหัวข้อ ปัญหา หรือสมมติฐาน การแสวงหาความรู้โดยการรวบรวมหลักฐาน การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐาน การตีความและสังเคราะห์ข้อมูล และการนำเสนอข้อมูล โดยมีเกณฑ์ในการพิจารณา คือ ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์มีการปฏิบัติอยู่ในระดับบ่อยครั้งขึ้นไป ผลปรากฏว่า การกำหนดหัวข้อปัญหา หรือสมมติฐาน มีระดับของการปฏิบัติอยู่ในระดับบ่อยครั้งขึ้นไป ๘๘.๘๘% การแสวงหาความรู้โดยการรวบรวมหลักฐาน มีระดับของการปฏิบัติอยู่ในระดับบ่อยครั้งขึ้นไป ๙๒.๒๒% การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐาน มีระดับของการปฏิบัติอยู่ในระดับบ่อยครั้งขึ้นไป ๘๐% การตีความและสังเคราะห์ข้อมูล มีระดับของการปฏิบัติอยู่ในระดับบ่อยครั้งขึ้นไป ๘๒.๐๑% และการนำเสนอข้อมูล มีระดับของการปฏิบัติอยู่ในระดับบ่อยครั้งขึ้นไป ๘๐%

๓. ผลการประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้

ผู้วิจัยได้นำแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ไปทดลองประเมินนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๔๕ คน โดยครูผู้สอนวิชาประวัติศาสตร์จำนวน ๑ คน ทำการประเมินนักเรียนทั้ง ๔๕ คน ในประเด็นต่างๆ ดังนี้ การใฝ่เรียนใฝ่รู้ ความรับผิดชอบ และความมีวินัย โดยมีเกณฑ์การพิจารณา คือ ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ได้รับการประเมินในระดับดีขึ้นไป ผลปรากฏว่า การใฝ่รู้ ใฝ่เรียน มีระดับของการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ๘๖.๖๗% ความมีวินัยมีระดับของการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ๙๓.๓๓% และความรับผิดชอบ มีระดับของการประเมินอยู่ในระดับดีขึ้นไป ๘๔.๔๔%

ไม่มีความคิดเห็น: