วันจันทร์ที่ 15 กันยายน พ.ศ. 2551

ประวัติผู้วิจัย

นางอรวรรณ หลอมทอง
ครูชำนาญการ
กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ
ผลของการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ที่มีต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ ในรายวิชา ส๔๑๑๐๑ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔
โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ จังหวัดศรีสะเกษ

The Effects of Teaching by using the Historical Method on the Achievement
on the Topic of Interesting History in Soc๔๑๑๐๑ of Mathayomsuksa IV Students
at Nongwahprachasan School in Srisaket Province

บทคัดย่อ

การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน ๒) ประเมินทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียน
ที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ๓) ประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการ
ทางประวัติศาสตร์

การดำเนินการวิจัยมีขั้นตอนการดำเนินงาน ดังนี้ ๑) สุ่มกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ ปีการศึกษา ๒๕๕๑ โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ จำนวน ๔๕ คน ๒) สร้างเครื่องมือในการวิจัย ได้แก่ แผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
มีประสิทธิภาพ ๘๓.๕๗/๘๑.๓๙ ๓) สร้างเครื่องมือเพื่อตรวจสอบคุณภาพของแผนการจัดการเรียนรู้ด้วยวิธีการ
ทางประวัติศาสตร์ ประกอบด้วย แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเพื่อประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีค่าความเที่ยงเท่ากับ ๐.๘๓ แบบประเมินทักษะกระบวนการกลุ่มเพื่อประเมินทักษะกระบวนกลุ่ม และแบบประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์เพื่อประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์

ผลการวิจัยพบว่า ๑) คะแนนเฉลี่ยของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .๐๕ ๒) ร้อยละ ๘๐ ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีทักษะกระบวนการกลุ่ม ในประเด็น การกำหนดประเด็นปัญหา การค้นหาและรวบรวมหลักฐาน การวิเคราะห์หลักฐาน การสรุปข้อเท็จจริง และการนำเสนอผลงาน ๓) ร้อยละ ๘๐
ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ มีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ ในประเด็น การใฝ่รู้ใฝ่เรียน
ความมีวินัยและความรับผิดชอบ

Abstracts

The research objectives were ๑) to compare the achievement scores before and after teaching by using the historical method ๒) to assess the group process skill of students by teaching the historical method ๓) to assess the suitable characteristic of students by teaching
the historical method.

The method of research were ๑) Sampling random ๔๕ Mathayomsuksa IV Students of the ๒๐๐๘ academic year at Nongwahprachasan School in Benjaluk, Srisaket Province
๒) To construc an implement for research whit the lesson plans by historical method was
๘๓.๕๗/๘๑.๓๙ efficiency ๓) To construc an implement for to examine plans by historical method whit
the achievement test was reliability ๐.๘๓, the group process skill test for to assess the group process skill and the suitable characteristic test for to assess the suitable characteristic of students by teaching the historical method.

The result of research were ๑) The achievement scores after hingher was than before teaching by the historical method on the topic of interesting history at the statistical significance at .๐๕. ๒) ๘๐% of students by teaching the historical method have the group process skill with the setting up problem or hypothesis, the data collection, the data analysis & evaluation, the data interpretation & synthesis and the presentation. ๓) ๘๐% of students by teaching the historical method have the suitable characteristic with in the attend to study, the discipline and the responsible.

ความสำคัญและความเป็นมาของปัญหา

หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช ๒๕๔๔ เป็นหลักสูตรแกนกลางที่มีโครงสร้าง
ยืดหยุ่น กำหนดจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของผู้เรียน ให้ผู้เรียนเป็นสมาชิก
ที่ดีของครอบครัว ชุมชน และประเทศชาติ สอดคล้องกับความสามารถ ความถนัดและความต้องการของผู้เรียน การจัดการศึกษาจึงมุ่งเน้นการให้ความรู้ ให้ความคิด ให้มีความสามารถ และมีคุณธรรมโดยมีกระบวนการเรียนรู้ที่เน้นผู้เรียนเป็นสำคัญให้ความสำคัญต่อความรู้เกี่ยวกับตนเองและความสัมพันธ์ของตนเองกับสังคม ได้แก่ ครอบครัว ชุมชน ชาติและสังคมโลก รวมทั้งความรู้เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ความเป็นมาของสังคมไทย ระบบการเมืองการปกครองในสังคมประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔: ๓)

จากจุดมุ่งหมายดังกล่าว กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม จึงจัดกิจกรรมการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับจุดมุ่งหมายของหลักสูตร โดยกำหนดรายวิชาที่เปิดสอน ได้แก่ ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน้าที่พลเมือง วัฒนธรรม และการดำเนินชีวิตในสังคม เศรษฐศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ โดยมุ่งสอนให้ผู้เรียนได้นำความรู้ต่างๆไปใช้ในชีวิตประจำวัน ผ่านทักษะการพูด การอ่าน การเขียน การคิดคำนวณ การวิเคราะห์ การแก้ปัญหาและการเชื่อมโยงกิจกรรมต่างๆ ที่เกิดจากการกระทำของมนุษย์ในอดีต ปัจจุบันและอนาคตด้วยวิธีการทางวิทยาศาสตร์ และวิธีการทางประวัติศาสตร์ โดยเฉพาะวิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งเป็นวิชาที่ต้องอาศัยการเรียนรู้จากประสบการณ์ในด้านต่างๆ ของมนุษย์ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงของสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติและวัฒนธรรมภายใต้มิติของเวลาและสถานที่ซึ่งอยู่ภายใต้ความเข้าใจอันดีระหว่างกลุ่มชนในสังคมนั้นๆ (กระทรวงศึกษาธิการ, ๒๕๔๔: ๗) จำเป็นอย่างยิ่งที่ต้องใช้วิธีการทางประวัติศาสตร์ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอน เนื่องจากวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นให้ผู้เรียนเกิดความรู้ด้วยตนเอง มีรูปแบบการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนที่เป็นรูปธรรมมากกว่านามธรรม ทำให้ผู้เรียนมีเจตคติที่ดีต่อการเรียนวิชาประวัติศาสตร์ ซึ่งวิธีการทางประวัติศาสตร์เป็นวิธีสอนที่สนองการเรียนรู้วิชาประวัติศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ สมนึก ปฏิปทานนท์ (๒๕๔๕: ๑๐๑)

ผู้วิจัยซึ่งเป็นครูผู้สอนวิชาสังคมศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม โรงเรียนหนองหว้า
ประชาสรรค์ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ มีประสบการณ์ในการสอน ๑๖ ปี พบว่า ปัญหาในการเรียนการสอนวิชาประวัติศาสตร์ คือ เป็นการสอนที่เน้นความจำ ครูสอนโดยการบรรยายจน
ทำให้ผู้เรียนขาดการคิดวิเคราะห์ สอดคล้องกับคำกล่าวของ เฉลิม นิติเขตต์ปรีชา (๒๕๔๕: ๔-๕)
ที่กล่าวว่า การสอนประวัติศาสตร์ที่ผ่านมามีลักษณะเป็นการถ่ายทอดทางวัฒนธรรมที่เป็นลักษณะการถ่ายทอดข้อมูล เป็นลักษณะประวัติศาสตร์สำเร็จรูป ครูมีบทบาทสำคัญในการถ่ายทอดความรู้ ซึ่งหากครูมีอคติ และลำเอียงในการถ่ายทอด จึงไม่สามารถสร้างความงอกงามทางด้านสติปัญญาของผู้เรียน แต่อาจเป็นผู้ทำลายผู้เรียน ดังนั้น ครูผู้สอนประวัติศาสตร์ยุคใหม่จึงควรเปลี่ยนแปลงวิธีการสอนโดยควรจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในลักษณะที่เป็นการถ่ายทอดประสบการณ์ในด้านการคิดวิเคราะห์และการแปลความหมายของเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ ผ่านกระบวนการเรียนการสอนที่สนองการเรียนรู้ประวัติศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดังนั้น ผู้วิจัยจึงต้องการศึกษาผลการสอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ เรื่อง ประวัติศาสตร์น่ารู้ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนหนองหว้าประชาสรรค์ อำเภอเบญจลักษ์ จังหวัดศรีสะเกษ เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
เพื่อประเมินทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ และเพื่อประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ซึ่งมีขั้นตอนการเรียนรู้ ได้แก่ การกำหนดหัวข้อ ปัญหา หรือสมมติฐาน ที่เกิดขึ้นในอดีต การแสวงหาความรู้โดยการรวบรวมหลักฐานประเภทต่างๆทั้งที่เป็นลายลักษณ์อักษรและไม่เป็นลายลักษณ์อักษร การวิเคราะห์และประเมินคุณค่าของหลักฐานอย่างเป็นเหตุเป็นผล มีความเป็นกลางและปราศจากอคติ การตีความและการสังเคราะห์ข้อมูล โดยไม่ใช้ค่านิยมของตนเองไปตัดสินพฤติกรรมของคนในอดีต และการนำเสนอเรื่องราวประวัติศาสตร์อย่างน่าสนใจ อธิบายอย่างสมเหตุสมผล

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

๑. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
๒. เพื่อประเมินทักษะกระบวนการกลุ่มของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์
๓. เพื่อประเมินคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์

สมมติฐานการวิจัย

ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่สอนด้วยวิธีการทางประวัติศาสตร์ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน